Wednesday, August 29, 2007

Different Thought

สองวันก่อน ถกเถียง ถามไถ่ ถึงเหตุของผล ที่เธอเห็นว่าตัวผมเป็น -- หมกมุ่น และออกห่าง เงียบขรึม ครุ่นคิด ไร้สื่อสาร ขาดการมีส่วนร่วม

ในบทสนทนา ปิศาจ "ตัวกูของกู" ต่างเข้าสิง บทสรุปจึงเป็นสีดำ หาใช่อย่างที่คาดหวัง -- ทั้งที่ผมก็ยอมรับว่าเป็นจริง (ยังมีพลังมนุษย์ หลงเหลือบ้าง)

แต่ทั้งสองเหมือนกันที่เป้าหมาย ผ่านมาสองวัน เช้านี้คุยกันใหม่ โดยไม่มีเครื่องจักรสมองกล มาเกี่ยวข้อง บทสรุปจึงกระจ่างใส -- ถ้ามองเห็นอีกด้านของความคิด ก็จะมองเห็นความเข้าใจ (ต่างฝ่ายต้องพยายามแสดงอีกด้าน)

เปลี่ยนจาก Video Embeded เป็น -- Link -- แทน

ปล. สงสัยว่า ทำไมเราถึงได้ลืม สิ่งที่ตัวเองเห็นเหมาะเห็นควรซะล่ะ แต่พอเธอเป็นบ้าง กลับลำคิดว่าไม่สมควรซะงั้น

วิดีโอประกอบ: http://www.kosanathai.com

Tuesday, August 28, 2007

How-to destroy internet?

ปุจฉา: ถ้าจะโจมตีเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เอาแบบตูมเดียว ล่มสลาย จะทำอย่างไร
Q: -- how-to destroy whole internet?

วิสัชนา: โจมตีระบบโดเมนเนม (จากประสบการณ์การทำงานที่เกี่ยวข้องกับ Internet มากว่า 10 ปี)
A: -- by attacking all root name servers


บทความ (คำถาม-คำตอบ) ที่ได้จากการค้นหา เกี่ยวข้องกับการโจมตี Root Name Servers เมื่อวันพุธที่ 6 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา -- Hack Attack: Is the Whole Internet at Risk?

แสดงให้เห็นว่ามี Hacker บางคน ตั้งใจและพยายามจะทำลายอินเทอร์เน็ตให้ล่มสลายไปจริง แต่ด้วยโครงสร้างของ server ที่เป็นแบบ Load Distributed by Anycast Routing ทำให้ผ่อนหนักเป็นเบาลงได้พอสมควรทีเดียว

ถ้าเป็นเพียงแค่ Low-Level Name Server เช่น ของ Enterprise หรือ Provider โดนเข้าแบบนี้บ้างล่ะ .. นึกแล้วสยอง

ตอนท้ายของบทความ เฉลยด้วยว่าทำไม Root Name Servers ถึงมีจำนวนเท่ากับ 13
Early in the history of the Internet, the User Datagram Protocol, the format in which DNS requests are made, was set at 512 bytes — just enough space to hold the 13 root server addresses.


นอกเหนือจากการโจมตี Root Name Servers ครั้งนั้น เหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบในวงกว้าง (ผมว่าหนักกว่าด้วยซ้ำ) เท่าที่จำได้ จะเกิดจาก Worms หรือ Viruses ซะมากกว่า เช่น

ที่มา: http://www.popularmechanics.com, http://en.wikipedia.org

Sunday, August 26, 2007

ทิ้งขยะ เพียงตระหนัก

คราวก่อนเขียนเรื่องขยะบนเกาะเสม็ด วันนี้อ่าน feed ของคนชายขอบ ที่ชวนไปเก็บขยะบนเกาะลันตา พอตามเข้าไปดูภาพถ่ายจากสถานที่จริง เห็นแล้วเหนื่อยใจแทนคนเก็บครับ ทำให้สะท้อนนึกถึง'คนที่ทิ้งโดยไม่ได้คิด'ว่า ขยะเพียงชิ้นสองชิ้นของตัวเอง จะส่งผลกระทบใหญ่หลวงขนาดนี้

แม้ว่า การเก็บอาจจะเป็นเพียงการแก้ที่ปลายเหตุ แต่น่าจะส่งผลกระทบไปที่ต้นเหตุได้บ้าง ไม่มากก็น้อย



ก็แค่อยากมาช่วยประชาสัมพันธ์ ผมคงไปร่วมโครงการไม่ได้ เพราะเรื่องดำน้ำ ไม่เคยเลยไม่เป็น แต่ที่สำคัญคืออยากสร้างตระหนัก ในกลุ่มคนเล็กๆ ที่อาจจะแวะเวียนมาที่นี่ แล้วขยายต่อกันไปคนละนิดละน้อย

ส่วนตัว ผมมันคนวงแคบ เริ่มจากครอบครัวอย่างจริงจังก่อนดีกว่าครับ เรื่องขยะๆ นี่แหละสำคัญนัก

ที่มา: คนชายขอบ

Friday, August 24, 2007

Paper Ranger

ที่บริษัทมีนโยบาย re-use กระดาษที่ใช้ไปหน้าเดียวอยู่แล้ว ส่วนเอกสารความลับทางธุรกิจบางอย่าง ก็จำเป็นต้องทำลายทิ้ง ห้ามนำมา re-use
แต่ไปป่าวประกาศบอกต่อๆ กันไป ก็คงได้อะไรบ้างไม่มากก็น้อย (เห็นพวกน้องๆ พิมพ์รายงาน หรือพิมพ์เอกสารจากเน็ต ทิ้งๆ ขว้างๆ ก็เยอะ)

ศูนย์รับกระดาษหน้าเดียว ซอยรางน้ำ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ สนใจติดต่อ นภา 089-160-3588 sky_skai@hotmail.com


"โลกร้อน ทุกสิ่งที่เราทำ เปลี่ยนแปลงโลกเสมอ" คุณฐิตินันท์ ศรีสถิต มูลนิธิโลกสีเขียว
กระบวนการผลิตกระดาษ ใช้ทรัพยากรเยอะมาก พูดได้อย่างย่อๆ ก็คือ
1. ใช้ต้นไม้ 1 ใน 5 ของต้นไม้ทั่วโลกส่งไปทำกระดาษ
2. ใช้พลังงาน 1 ใน 5 ของโลกส่งไปทำกระดาษ




โครงการคืนชีพให้กระดาษ (Paper Ranger) นี้เป็นการตอบโจทย์สำหรับบุคคลทั่วไปที่มีกระดาษหน้าเดียวเหลือใช้ จะนำมาใช้ก็ไม่หมด ชั่งกิโลขายก็ไม่คุ้ม จะทิ้งก็เสียดาย...

โครงการรับบริจาคกระดาษ A4 ใช้แล้วหน้าเดียว ซึ่งจะถูกนำมาเข้าระบบแปรรูปมาใช้ใหม่ กลายเป็นสมุดจด ไดอารี่ สมุดฉีกที่น่าใช้ น่าเก็บ กลับมาขายในท้องตลาดด้วยราคาที่ถูกกว่า สมุดที่ไม่ใช่เพียงสมุด แต่มีเรื่องราวเป็นการอนุรักษ์ธรรมชาติที่สะดวกและแสนง่าย เป็นการจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด สำหรับวัสดุที่สามารถนำกลับมาใช้ได้ใหม่ (renewable resource) คลิกอ่านที่มาของโครงการ




ที่มา: http://jitasa.com/paperranger/, http://www.prachatai.com

Thursday, August 23, 2007

Knowledge Worker

Knowledge Worker -- เป็น keyword หลักคำหนึ่ง โดยเฉพาะทุกครั้งที่ประชุมกับ CEO



ชอบมาก ทั้งการนำเสนอและเนื้อหา (แนะนำให้ควรดูอย่างยิ่ง)

"knowledge is shared freely"


ที่มา: http://www.slideshare.net

Tuesday, August 21, 2007

ปัญหา

'ปัญหา' คำนี้เป็นคำที่ได้ยินบ่อยที่สุดในช่วงนี้เลย สงสัยอยู่เหมือนกันว่าทำไม

วันนี้คุยเอ็มเอสเอ็น กับน้องที่เคยทำงานด้วยกัน สรรพเพเหระ ถามสารทุกข์สุกดิบ คุยไปคุยมา ไหงออกแนวธรรมะดราม่าไปซะงั้น


สรรพสิ่งมีเกิดขึ้นได้ ย่อมดับลงได้เองเช่นกัน ฉันใดฉันนั้น ปัญหาทั้งหลาย ก็หนึ่ง มิแตกต่าง เมื่อแก้ไขไม่ได้ จงปล่อยวางเอาไว้ ให้มันดับไปเองเถิด อย่าให้มันเป็นเหตุ ก่อปัญหาใหม่อีกเลย

ภาพประกอบ: http://photobucket.com

Monday, August 20, 2007

ผู้บริหารระดับกลาง

คนละเรื่องกับ "คนชั้นกลาง" นะครับ

แม้จะลดความสำคัญของงานลง เพื่อเวลาของครอบครัวที่เพิ่มขึ้น แต่ความคิดก็ยังวังวนอยู่กับเรื่องงานแทบจะตลอดเวลา โดยเฉพาะในช่วง 3-4 ปีมานี้ ชีวิตการทำงานสวมหัวโขนผู้บริหารมาตลอด แต่รู้สึกว่าตัวเองแสดงบทบาทนี้ได้แย่มาก ที่เขาบอกว่า "บริษัทได้หัวหน้าแย่ๆ มาคนหนึ่ง โดยต้องเสียพนักงานที่เก่งไปคนหนึ่ง" อย่างไรอย่างนั้น นั่นแหละตัวผม..ใช่เลย

ควรอ่านหนังสือบริหารจัดการให้ได้อย่างน้อยปีละ 20 เล่ม ผมเคยพยายามทำ แม้ไม่ถึง 20 เล่ม ก็ใกล้เคียง แต่นั่นไม่ได้ทำให้อะไรดีขึ้น ปีนี้เลยเลิกอ่านหนังสือบริหารจัดการ (แต่ยังคงอ่านบทความบนอินเทอร์เน็ตอยู่เสมอ) กลับมาสนใจเรื่องของเทคโนโลยี หาทางทำประโยชน์ให้องค์กร ด้วยประสบการณ์ ความรู้ ความสามารถทางเทคโนโลยี เหมือนเคยดีกว่า

ถึงอย่างนั้น ไม่ว่าอย่างไร ตอนนี้หัวโขนผู้บริหาร ก็ยังไม่ได้ถูกถอดออก ผมต้องพัฒนาตัวเองทางด้านนี้ด้วย ไม่ได้มาก ได้น้อยก็ยังดี (แม้หนทางจะดูมืดมน) จะมีผู้บริหารระดับกลางสักกี่คน ที่จะได้ไปต่อ

สมัยไฟแรงๆ ผมชอบบทความจากหนังสือเล่มหนึ่ง ชื่อว่า High Impact Middle Management (H.I.M.M.) ของ LISA HANEBERG
นักพัฒนาทักษะด้านการบริหาร และเจ้าของหนังสือด้านบริหารจัดการเล่มดังมากมาย ตอนนั้นมีคนนำมาสรุปความเป็นภาษาไทย

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ก็เคยเชิญเธอมาเป็นวิทยากร ในงานสัมนา "ยุทธวิธีก้าวสู่ขีดความสำเร็จสูงสุดของผู้บริหารระดับกลาง" เมื่อปลายปี พ.ศ. 2548 (ไฟล์ presentation ของ LISA)

วันนี้บังเอิญ search ไปเจอบล็อก Management Craft ของ LISA ซึ่งมีเนื้อหา เรื่องราว เป็นความรู้ที่น่าสนใจสำหรับผู้บริหารอ่อนหัดเช่นผม และผู้บริหารมือใหม่ทั้งหลาย คงเป็นอีกที่ที่ผมจะต้องแวะเวียนไปอ่านบ่อยๆ

คุณค่าขององค์ความรู้ที่แท้จริง อยู่ที่การนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์

อ้างอิง:

Thursday, August 16, 2007

รุมเร้า



เหตุ -- แบบสำรวจจาก anonymous

กาล -- เช้ามืดวันนี้เอง

ผล --
  • ทำงาน มีปัญหา เรื่องธรรมดา ทุกคนรู้ ทุกคนเห็น ทุกคนหวัง ทุกคนฝัน
  • หลายคนคิด บางคนพยายาม บางคนท้อ บางคนถอย บางคนยังทำ แต่เกือบทุกคนไม่สื่อสาร
  • บางคนเป็นนักวิชาการ วิพากย์วิจารณ์ นำมาตีแผ่ แต่เกือบทุกคนนิ่ง
  • หลายคนทำ หลายคนลา น้อยคนยังทำ แต่เกือบทุกคนยังคงเฉย (รอ?) ไม่สื่อสาร
  • action action & action ... who?

คาดหวัง --

ภาพประกอบ: คัดลอกมาจาก blog ที่ทำงาน

Wednesday, August 15, 2007

คนชั้นกลาง

ถ้าผมเพียงแค่โหวต 'ไม่รับ' จะหลุดจากข้อหาคนชั้นกลาง กลายเป็นพวกเดียวกับคนรากหญ้าได้รึเปล่าครับ ในทางกลับกันคนที่โหวต 'รับ' จะถูกเหมารวมว่าฉีกรัฐธรรมนูญ(ฉบับประชาชน) หรือไม่

คิดแบบข้างบนผมว่ามันแตกแยก แบ่งฝ่าย เลือกข้าง ประเทศชาติจะวุ่นวายแน่ๆ ไม่เอา ไม่เอา (เคารพสิทธิ ซึ่งกันและกัน)

“นิธิ” ชี้รัฐ – คนชั้นกลาง ยังไม่รู้จัก“คนรากหญ้า”ดีพอ

แต่คนชั้นกลางชุมชนกันหน่อย จะไล่นายกฯ กลับจะฉีกรัฐธรรมนูญทิ้ง มันไม่มีความเข้าใจถึงคนรากหญ้าด้วยประการทั้งปวง แล้วทำไมพลังของคนรากหญ้าในการต่อรองทางการเมืองจึงต่ำมาก คำตอบแบบกำปั้นทุบดินก็คือว่า ประสบการณ์มันจำกัด


24 ชั่วโมงของคนชั้นกลางไทย

คนชั้นกลางไม่รังเกียจการบริหารรัฐกิจในเชิงธุรกิจ ฉะนั้นจึงไม่ได้รังเกียจซีอีโอ หรือการรวบอำนาจเข้าสู่ส่วนกลางอย่างเต็มที่ คนชั้นกลางไม่รังเกียจการปฏิรูประบบราชการซึ่งตัวได้ใช้ประโยชน์มากที่สุดอยู่แล้ว แต่กลับใช้ประโยชน์ได้ไม่เท่าที่ควร คนชั้นกลางไม่รังเกียจการขจัดความยากจน ตราบเท่าที่ไม่รีดภาษีทางตรงเพิ่มขึ้น และตราบเท่าที่ไม่กระทบต่อโครงสร้างการถือครองทรัพย์สิน คนชั้นกลางไม่รังเกียจสงครามต่อต้านยาเสพติด เพราะยาเสพติดคุกคามครอบครัวของตนมากขึ้นทุกวัน กี่ศพก็ได้ ขอให้ลูกหลานของตัวปลอดภัยจากยาเสพติดเป็นใช้ได้

เอาเข้าจริง คนชั้นกลางไทยไม่ได้มีศรัทธาต่อระบอบประชาธิปไตย พวกเขาหวาดระแวงเสรีภาพ ซึ่งหากใช้กันอย่างแพร่หลาย ย่อมกระทบต่ออภิสิทธิ์ของตน ถึงพวกเขาจะอ้างความเสมอภาคอยู่บ่อยๆ แต่เขาหมายถึงคนที่อยู่ในสถานภาพที่สูงกว่าเขาควรเสมอภาคกับเขา ไม่ได้หมายถึงคนที่อยู่ในสถานภาพต่ำกว่าเขาจะอาจเอื้อมมาเสมอภาคกับเขา การปกครองของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน คือการปกครองของพวกเขา โดยพวกเขา และเพื่อพวกเขา


ที่มา: มติชน ประชาไท

Tuesday, August 14, 2007

ของเสีย

สองเดือนมานี้ ดูเหมือนจะเป็นฤดูกาลทดสอบดีกรีความเป็นพี่เบิร์ด ธงไชย "ซ่อมได้" ของผมซะเหลือเกิน ที่บ้านมีแต่ของเสีย ของชำรุด เข้าคิวรอจัดการมากมาย แถมต้องใช้กะตังค์ทั้งน้านเลย

  • กระเบื้องมุงหลังคา : ปริ่มๆ จะตกลงมาทำร้ายลูกเมีย แต่จัดการเองไม่ได้ เพราะเดี๋ยวจะไม่ได้ซ่อมอย่างอื่นต่อ (จัดให้เรียบร้อย)
  • หลอดไฟห้องน้ำ : ขั้วในฐานหลอดช็อต (จัดให้เรียบร้อย)
  • เครื่องทำน้ำอุ่น : กลายเป็นเครื่องทำน้ำร้อน ผบ.ทบ. เป็นคนใช้งานประจำ (คิว)
  • ปั๊มน้ำ : ทำงานเองเป็นระยะทุกๆ 4-5 นาที หาจุดรั่วในบ้านมาเป็นเดือนแล้ว ยังไม่เจอ แถมอาการไม่นิ่งอีก (อาจต้องรื้อ)
  • เครื่องดูดฝุ่น : ท่อดูดที่เป็นพลาสติกอ่อน ขาดแล้วขาดอีก ตัดด้วยคัตเตอร์ ต่อด้วยกาวตราช้าง (หดไปกว่าฟุตแล้ว)
  • มุ้งลวด : ลูกคิดใช้ดินสอจิ้มขาดเป็นรูใหญ่หลายรู ตอนนี้ยุงมันเริ่มใช้เป็นช่องทางประจำเข้าบ้านแล้ว (คิว)
  • หม้อหุงข้าว : ข้าวเหลือไม่ค่อยได้ บูดง่ายบูดดายเหลือเกิน (คิว ซื้อใหม่)
  • เครื่องเล่นดีวีดี : ได้ตัวใหม่มาแล้ว ตัวเก่ามันรวนกับแผ่นเขียนเองบางยี่ห้อ konco ด้วย (จัดให้เรียบร้อย)

ภาวนาว่าอย่าไปเกิดที่ทำงานเลย จะมีบ้างก็รับได้หรอก แต่ส่งสัญญาณเตือนให้รู้ล่วงหน้ากันก่อนดีกว่านะ พ่อเจ้าประคุณ แม่เจ้าประคุณ คอมพิวเตอร์สมองกล ยอดขมองอิ่ม(ข้อมูล)ทั้งหลาย

ของเสีย ซ่อมได้ ซื้อใหม่ได้ -- เงินเสีย ก็หาใหม่ได้ -- แต่ใจเสีย ซ่อมยาก หาซื้อไม่ได้ -- เพราะฉะนั้น ดูแลใจกันและกัน ให้ดีที่สุดนะครับ

ภาพประกอบ: http://members.coloringplanet.com

Sunday, August 12, 2007

ขยะบนเกาะเสม็ด

เคยไปเที่ยวเกาะเสม็ดมา 2 ครั้ง หาดทรายแก้ว อ่าวไผ่ อ่าววงเดือน อ่าวเทียน อ่าวลุงดำ และที่ประทับใจมากที่สุด คือ อ่าวพร้าว

สองวันก่อน ผ่านตา ข่าวขยะล้นเกาะเสม็ด วันนี้ก็เลยลอง search ดู เจอเรื่องเกี่ยวข้องน้อยมาก (แต่คงด้วยผมไม่มีเวลาพอ) ที่เห็นจะมีรายละเอียดมากหน่อยก็ที่นี่

จะเป็นไปได้มั้ยที่จะรณรงค์กันว่า ขากลับให้นักท่องเที่ยวช่วยกันขนขยะที่ตัวเองก่อ กลับขึ้นฝั่งมาด้วย เอาเฉพาะที่พอขนกลับมาได้จริงๆ (2-3 กิโล เอง) และก็แค่ทำเป็นมาตรการระยะสั้น ก่อนจะพบทางแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน

แม้ส่วนตัวผมจะคิดว่า ถ้าบังคับให้ทำอย่างนี้ ขยะคงจะลดลงไปพร้อมกับนักท่องเที่ยวที่ลดลงด้วยก็ตาม แต่ผมคนหนึ่งล่ะที่จะยังคงไปเสม็ดเสมอเมื่อมีโอกาส

มีคนเคยพูดไว้ เอามาดัดแปลงเล็กน้อย "เกาะเสม็ด ไม่ใช่สมบัติของพวกเรา เพียงแต่เรายืมลูกหลานเรามาใช้ก่อนเท่านั้น"

มนุษย์เรารังแต่จะสร้างขยะให้กับโลกมากขึ้นทุกวัน โดยเฉพาะพวกที่ไร้สำนึก ขาดความรับผิดชอบร่วม เอาแต่เสพสุขเข้า ถ่ายทุกข์ออก มีสถานะไม่ต่างกับขยะเน่าๆ ที่พวกเค้าก่อ (ตัวผมเองก็เหม็นเฉ่าๆ แฮะ)

ที่มา: http://www.environnet.in.th
ภาพประกอบ: http://www.rayongzone.com

Thursday, August 09, 2007

How Addicted to ... Are You?

เห็นเค้าเล่นเรื่อง Blogging กัน ก็เลยลองบ้าง

42%How Addicted to Blogging Are You?

เลยได้ลอง coffee อีกเรื่อง ก็อยากรู้อยู่เหมือนกัน เพราะถ้าอยู่บ้านก็ทุกวันๆ ละ 2 ถ้วย เช้า บ่าย

Wednesday, August 08, 2007

ประกันสังคม - บำเหน็จชราภาพ

สองวันก่อนไปอ่านเจอในคุยกับลุงแจ่ม/OKNation ก็เลยลอง register แล้ว login เข้าไปดูข้อมูลของตัวเอง ที่เว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม (Social Security Office) ทำให้ได้รู้ว่า เรายังมีเงินฝังไหเอาไว้ยามแก่เฒ่า อยู่อีกแห่งหนึ่งด้วยแฮะ แต่ต้องแก่แล้วไม่ลืมด้วยนะ ถึงจะได้ใช้ (ฮา)


Tuesday, August 07, 2007

เลือกข้าง

ช่วงนี้ไปไหนมาไหน เจอคนรู้จักทักทายกัน ก็มักจะถามกันทีเล่นทีจริงว่า เลือกสีแดงหรือสีเขียว บรรดา blogger เลือดประชาธิปไตยชื่อดังทั้งหลาย ต่างก็แปะป้ายแดงละลานตาไปหมด ส่วนกระบอกเสียงกระบอกภาพของภาครัฐ ก็โบกธงเขียวสะบัดไหวๆ แทบทั้งวันทั้งคืน

ประชาธิปไตยเป็นเรื่องของเสียงข้างมาก(จริงหรือเปล่า ไม่ค่อยมั่นใจ)

ส่วนตัวผมมีความรู้สึกว่า ขนาดพลเมืองชั้นกลาง ซึ่งอยู่ในแวดล้อมของข่าวสาร มากมายหลากสื่อ เช่นเรา ยังระแวงในข้อมูลที่ได้รับว่า ผิดเพี้ยน บิดเบือน ชี้นำ ขาดการกลั่นกรอง ตั้งใจบ้าง ไม่ตั้งใจบ้าง แล้วประชาชนรากแก้ว ที่ส่วนใหญ่อยู่ในชนบท พวกเขาจะเป็นยังไงกัน คงสับสนน่าดู (เอ! หรือว่าพวกเขาจะกระจ่างใส ชัดเจน ไปแล้ว)

การนำเสนอของแต่ละฝ่าย ถ้าจงใจหาแนวร่วม เลือกข้างแบบชัดเจน ก็โอเคไม่ว่ากัน เพราะเจตนาชัด แต่ตัวเราเองต้องพยายามหาสารจากฝั่งตรงข้าม มาเปรียบเทียบ พิจารณา เพราะแม้แต่วิธี หรือบรรทัดฐานในการตัดสินใจ ทั้งสองข้างยังชี้นำไว้หมด แถมไม่เหมือนกันอีกต่างหาก

คงต้องบอกตัวเองอย่างหนักแน่น ว่าต้องใช้วิจารณญาณในการเสพสื่อข่าวสารให้มากๆ สุดท้ายตัดสินใจบนบรรทัดฐาน วิธีการที่เชื่อว่าดี และสร้างประโยชน์ให้กับประเทศชาติมากที่สุด

ที่สำคัญคือ ต้องออกไปใช้สิทธิ ไม่ว่าจะเลือกข้างไหน (แม้เห็นต่าง ก็เป็นข้างเดียวกันได้)

ส่วนผม เลือกที่จะอยู่ข้าง..ตัวเอง ซึ่งเป็นประชาชนคนธรรมดาคนหนึ่งครับ

ภาพประกอบ: http://www.frc.org

Sunday, August 05, 2007

Bloggers' Rights

ริจะเป็น Blogger ก็ต้องรู้จักหาทางคุ้มครองสิทธิของตัวเองกันบ้างนะครับ


อ่านเนื้อหาใน link ข้างบนคร่าวๆ แล้ว ดูเหมือนจะไปไม่รอดในบ้านเราซะหลายข้อนะเนี่ย

ที่มา: Electronic Frontier Foundation
Defending freedom in the Digital World

Friday, August 03, 2007

ปัญหากับชีวิตการทำงาน

ในบรรยากาศการทำงาน 2-3 วันที่ผ่านมานี้ ได้ยินคำว่า 'ปัญหา' บ่อยมาก แม้แต่ในการเข้าไปนั่งอบรม

หลายคนบอกว่างานนั้นงานนี้ไม่มีปัญหา แต่พออธิบายลึกลงไปในรายละเอียด กลับมีแต่คำว่า 'ปัญหา' พรั่งพรูออกมาเต็มเลย

ลองมานั่งนึกดูว่าวันหนึ่งๆ เราใช้คำว่า 'ปัญหา' มากเกินไปรึเปล่า แต่คงไม่ใช่เพราะไม่เข้าใจความหมาย เพียงแต่การสื่อความหมาย โดยเฉพาะน้ำหนักความรุนแรงของปัญหา ทุกครั้งที่พูดออกมาคงไม่เท่ากัน เรื่องเล็กเรื่องน้อยที่เราหาคำตอบหรือข้อสรุปยังไม่ได้ ก็ไปเรียกมันว่า 'ปัญหา' ซะแล้ว

อย่างที่มักจะได้ยินกันว่า "บริษัทจ้างเรามาแก้ปัญหา ถ้าไม่มีปัญหาเค้าคงไม่จ้างเรา" นั่นก็หมายความว่าปัญหาทำให้เกิดงาน งานคือการแก้ไขปัญหา เพียงแต่การสื่อสารด้วยคำว่าปัญหาบ่อยๆ อาจจะฟังดูไม่ดีเท่านั้นเอง (ก็อยู่ที่ผู้ฟังด้วย)

จริงๆ ปัญหาหลักขององค์กรธุรกิจ มีอยู่อย่างเดียว คือ มีเงินลงทุนอยู่ก้อนหนึ่ง จะใช้มันทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร เพื่อทำให้มันงอกเงยขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง เขียนเป็นสมการคณิตศาสตร์ง่ายๆ

กำไร = รายได้ - ต้นทุน

โจทย์คือ รู้ว่ามีต้นทุนเท่าไร แล้วต้องการทำกำไรให้สูงที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ก็ต้องทำให้รายได้มีค่าสูงที่สุดนั่นเอง

พนักงานแต่ละคนเป็นหน่วยย่อยขององค์กร รู้ว่าต้นทุนตัวเองเป็นเท่าไร คิดแบบง่ายๆก็คือ เงินเดือน โจทย์หรือปัญหาของเราคือ จะทำอย่างไร เพื่อให้กำไรที่เกิดจากเงินเดือนของเราสูงที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เท่านี้เอง เพราะฉะนั้นระหว่างทำงาน ก็หาทางแก้ปัญหานี้ไปเรื่อยๆ ทุกวัน พยายามตอบโจทย์นี้ให้ได้ทุกวัน ถ้าทำได้ (กำไรเป็นบวก และตามเป้า) ก็ถือว่าสำเร็จครับ

การที่ตัวเราเป็นลูกจ้างกินเงินเดือน ถ้ามองว่าตัวเราคือหนึ่งองค์กรธุรกิจ โจทย์หรือปัญหาเหมือนกัน คือต้องการกำไรสูงสุด สมการเดียวกัน

กำไร = เงินเดือน(รายได้) - ค่าใช้จ่ายรายเดือน(ต้นทุน)

กรณีนี้เงินเดือนกลายเป็นรายได้ โจทย์หรือปัญหาคือต้องทำอย่างไรให้ค่าใช้จ่ายรายเดือน(ต้นทุน) มีค่าน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อให้ได้กำไรสูงสุด

ปัญหาในชีวิตการทำงานมีแค่นี้เอง ง่ายมั้ยครับ ตลอดชีวิตการทำงานของผม ถูกบ่มเพาะให้คิดและมองแบบนี้จริงๆ