Thursday, January 17, 2008

งานวิจัยในองค์กรธุรกิจ

ยังลางเลือน ขุ่นมัว เหมือนหมอกหนาในกรุงเทพและปริมณฑล เช่นสองสามวันที่ผ่านมา ผมยังมองภาพที่ชัดเจนไม่ได้ว่า หน่วยงานที่มีภาระหน้าที่ ซึ่งถูกคาดหวัง (หลายคนหมดหวังไปแล้ว) ว่าจะต้องจัดหา/จัดทำ สินค้าและบริการใหม่ๆ เป็นนวัตกรรม (ช่วงนี้เอียนคำนี้เหลือเกิน) จะไปยืนอยู่ตรงตำแหน่งไหน ระหว่างการมีส่วนร่วมเพื่อทำกำไรสูงสุด กับ การลุยทุ่มสุดตัวเพื่อทำงานวิจัย โดยไม่เหลียวหลังหันมองใคร

ในเมื่อนโยบายบอกว่า ให้อยู่ระหว่างทั้งสองอย่างนั้น ห้ามเลือกข้างใดข้างหนึ่ง คน(อ่อนเชิง)ซึ่งรับนโยบายไปปฏิบัติการ ทำแผนต่อไม่ถูกแล้วครับ

ณ วันนี้ ถ้าเป็นผม จะเลือกการมีส่วนร่วมเพื่อทำกำไรสูงสุด เพราะทรัพยากรที่มีอยู่ สนับสนุนแนวทางนี้มากกว่า รวมทั้งลดความกดดันจากความคาดหวัง ของหน่วยงานธุรกิจด้วย การผลักดันเต็มๆ ด้วยความต้องการทางธุรกิจ (business drive) น่าจะเป็นการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าที่สุด (กว่าที่เป็นอยู่)? -- อย่างนี้คงเลิกใช้คำว่า 'วิจัย' ไปได้เลย

งานวิจัย:
  • คนทำงานวิจัย ถ้าจะได้อะไรใหม่ๆ จำเป็นต้องหลุดพ้นจากความกังวล ความกดดัน จากเรื่องอื่นๆ ทั้งหมด แน่นอน ถึงแม้จะเป็นเช่นนี้ ก็รับประกันไม่ได้ว่า จะสำเร็จมากน้อยแค่ไหน แต่ย่อมดีกว่าการปล่อยให้คนทำวิจัย ต้องหมกหมุ่น รับแรงกดดันจากความคาดหวังทางธุรกิจ
  • ความคาดหวังทางธุรกิจ คือ สินค้าและบริการใหม่ๆ ที่สามารถขายเพื่อทำกำไรให้กับองค์กรได้

ปุจฉา:
  • งานวิจัยทางเทคโนโลยี จำเป็นต้องมีความต้องการทางธุรกิจ เป็นตัวผลักดัน หรือไม่

วิสัชนา:
  • เราจำเป็นต้องใส่ input เข้าไป แต่ไม่ควรไป involve มากนัก คำตอบคือมีได้ แต่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น


มีคำถามต่อจากคำตอบข้างบนว่า ความชัดเจนทั้งสำหรับคนทำงาน และคนคาดหวังล่ะ ประเด็นนี้สำคัญ เพราะมันนำมาซึ่งความกดดัน บรรยากาศของความคิดสร้างสรรค์ New Idea จะเกิดยาก อย่างที่เคยมีการตั้งข้อสังเกตไว้

ผมยังเชื่อว่า องค์กรธุรกิจ ร้อยทั้งร้อยก็ต้องใช้โจทย์ทางธุรกิจนั่นคือ กำไรสูงสุด เป็นแรงผลักดันหลัก ในทุกภาคส่วน แต่ถ้าจะทำงานวิจัย ควรปลดปล่อยทีมงานออกไปให้ไกลจากโจทย์นี้ให้มากที่สุด (ส่วนตัวผมไม่คิดว่าจะทำได้)


ภาพประกอบ: http://www.usc.edu, http://www.istockphoto.com

No comments: