
Earthquake Links:
- รอยเลื่อนมีพลังในประเทศไทย (English)
- พิบัติภัยแผ่นดินไหวในประเทศไทย
- สำนักแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยา
- Latest Earthquakes in the World - Past 7 days
- Richter Magnitude Scale
- The Richter Magnitude Scale
ข้อมูลของคำว่า Richter จาก Manager Around the World
ริกเตอร์ (Richter) คือหน่วยวัดจำนวนหรือพลังงานซึ่งปลดปล่อยออกมาที่ศูนย์กลางแผ่นดินไหว ซึ่งสามารถคำนวณได้จากการติดตามลักษณะของคลื่นแผ่นดินไหว โดยเครื่องวัดแผ่นดินไหว ซึ่งคิดค้นโดยผู้เชี่ยวชาญด้านแผ่นดินไหวชาวเยอรมัน ชื่อซีเอฟ ริกเตอร์ (C.F. Richter) มีขนาดตั้งแต่ 1.0 (รุนแรงน้อย) ถึง 9.0 (รุนแรงมาก)
ขนาดของคลื่น (ริกเตอร์) | ความถี่ของการเกิด | |
1-2.9 | ประมาณ 9,000 ครั้งต่อวัน | |
3-3.9 | ประมาณ 49,000 ครั้งต่อปี | |
4-4.9 | ประมาณ 6,200 ครั้งต่อปี | |
5-5.9 | ประมาณ 800 ครั้งต่อปี | |
6-6.9 | ประมาณ 120 ครั้งต่อปี | |
7-9.0 | ประมาณ 19 ครั้งต่อปี | |
9.0 ขึ้นไป | ประมาณ 1 ครั้งในรอบ 20 ปี |
ทั้งนี้ ยังมีคนอีกจำนวนไม่น้อยที่เข้าใจว่า ริกเตอร์นั้นเป็นมาตราวัดแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว ซึ่งอันที่จริงแล้วไม่ใช่ เพราะมาตราที่เราใช้วัดแรงสั่นสะเทือนนั้น เราเรียกว่า มาตราเมอร์แคลลี(Mercalli) ต่างหาก
มาตราดังกล่าวจะวัดความเข้มของความรุนแรงในการสั่น ณ ที่ใดที่หนึ่ง ซึ่งจะออกมาในลักษณะความรุนแรงของการสั่นที่มนุษย์รู้สึกได้ว่ามากน้อยแค่ไหน หรือความเสียหายของสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ มีมากแค่ไหน ตามขนาดตั้งแต่ 1 ถึง 12
ภาพประกอบ: กรมทรัพยากรธรณี
No comments:
Post a Comment