
ดูรายการ WHAT & WHY? สถานีทีวีไทยตอนเย็นเมื่อวาน ยิ่งตอกย้ำประเด็นนี้ พิธีกรพาไปดูเบื้องหลังการทำงานของนักพากย์ และช่วงสัมภาษณ์ "พี่จูน" นักพากย์ประสบการณ์สูงกับเสียงซึ่งเราคุ้นหู พี่จูนบอกว่า ทักษะความสามารถที่สำคัญสำหรับอาชีพนักพากย์นั้น คือ ฟังเก่ง อ่านหนังสือเร็ว พูดคล่อง และแอ๊คติ้งเก่ง (จบด้านศิลปะการแสดงมาจะได้เปรียบ แต่ก็ไม่จำเป็นนัก) -- แล้วตกลงว่า "พายอากำลังสอง" นักพากย์นำไปใช้อะไรครับ
แต่ในความเป็นจริง ปัญหาสำคัญคือ น้อยคนนักที่จะค้นพบว่าตัวเองอยากทำอาชีพอะไร ตั้งแต่อายุยังน้อย ก็อีกนั่นแหละ แม้ว่าจะค้นพบ แต่ใจคนเรานะเป็นอะไรที่ dynamic สุดๆ เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา -- คนเป็นตัวแปรที่เลี่ยงไม่ได้อยู่แล้ว อันนี้ปัจเจกใครปัจเจกมัน
ผมเองยังคาใจว่า โครงสร้างระบบการศึกษาในปัจจุบันมันไม่เอื้อ กำหนดระยะเวลากว่าจะจบการศึกษานานเกินไปหรือเปล่า ทำให้เด็กส่วนใหญ่ใช้เป็นข้ออ้างในการประวิงเวลา (ไม่ยอมโต) เช่นว่า จบ ม.ต้น นั้นยังอีกนานโขที่จะคิดว่า จบแล้วทำอาชีพอะไรดี จบ ม.ปลาย ก็ยังอีกหลายปี ปัจจุบันนี้ส่วนใหญ่เด็กจบปริญญาโทเยอะมาก หลายคนที่ผมเคยสัมภาษณ์เข้าทำงาน ยังตอบตัวเองไม่ได้เลยว่าอยากทำ หรืออยากเป็นอะไร (ประมาณว่ามีตังค์ก็เรียนไปเรื่อยๆ ไร้เป้าหมาย)
เช่นนี้ แล้วคำถามที่ผู้ใหญ่มักถามเด็กๆ ว่า "โตขึ้นหนูอยากเป็นอะไร" คงไม่ได้มีความหมายอะไร นอกไปจากถามกันเล่นสนุกๆ ด้วยความเอ็นดู หรือเพียงแค่อยากได้ยินคำตอบน่ารักๆ ของเด็กๆ เท่านั้น
ภาพประกอบ: Picturebook
No comments:
Post a Comment